เปลี่ยนภาษา:  English

เรียนที่ FOOD&FIN TU

วิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 60 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

    ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า  138 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป   30  หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ          102  หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี         6  หน่วยกิต

 

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  0-2564-4440-59 ต่อ 2550
 malee_c@hotmail.com

  Food Sci TU

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร   Food Science and Technology (FOOD)

เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ด้านการแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร เคมีอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การประกันและควบคุมคุณภาพอาหาร  สามารถบูรณาการและต่อยอดความรู้เชิงวิชาการกับวิชาเลือกที่หลากหลาย ได้แก่ เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์นม  ผักและผลไม้  เนื้อสัตว์ ธัญชาติและถั่ว  สัตว์น้ำ ขนมอบ และขนมไทย เป็นต้น  อีกทั้งยังมีการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ควบคู่กับทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ สามารถใช้สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีศักยภาพ

คำอธิบายหลักสูตร

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมีหลากหลายวิชาให้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเข้าใจและปฏิบัติได้จริง รวมถึงสามารถต่อยอดผลงานวิจัยให้กว้างขวางเพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย

1.ศึกษาวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

2.วิชาบังคับในสาขาได้แก่ การแปรรูปอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร เคมีอาหาร วิศวกรรมอาหาร กฎหมายและมาตรฐานอาหาร โลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์อาหารเบื้องต้น การตลาดอาหาร

3.วิชาบังคับนอกสาขา เช่น วิชาการประกอบการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Entrepreneurship)

4.วิชาเลือกในสาขา เช่น เทคโนโลยีผลิต เช่น เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ประมงผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ อาหารเสริมสร้างสุขภาพ อาหารหมัก ขนมอบ ขนมไทย การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ทักษะการเริ่มต้นธุรกิจอาหาร

5.นักศึกษาได้มีโอกาสเดินทางไปฝึกงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างประสบการณ์การทำงาน เป็นเวลา 300 ชั่วโมง

บัณฑิตที่จบจากสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมีความรอบรู้ มีกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กับพื้นฐานทางธุรกิจ สามารถประยุกต์ความรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดเชิงพาณิชย์ บัณฑิตได้เรียนรู้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารและฝึกปฏิบัติจนชำนาญ ทำให้มีความพร้อมทั้งการทำงานในระดับโรงงานอุตสาหกรรม การศึกษาต่อเพิ่มเติมหรือการสร้างธุรกิจของตนเอง

การฝึกงานหรือสหกิจ

จะฝึกงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางอาหารหรือสถาบันวิจัยในต่างประเทศ ในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 เป็นระยะเวลา 1.5 – 2 เดือน

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหาร ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

หลักสูตรนี้มีอาชีพรองรับจำนวนมาก ได้แก่

  • หน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมปศุสัตว์ สหกรณ์โคนม กรมการข้าว สถาบันวิจัยและพัฒนาอาหาร เป็นต้น
  • หน่วยงานเอกชน ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายบรรจุภัณฑ์ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการอาหาร
  • ศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารวิศวกรรมอาหาร วิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการ เป็นต้น

“ทฤษฏีลึก ปฏิบัติเด่น นวัตกรรมเน้น ผันเป็นผู้ประกอบการ ยกคุณภาพอาหารได้มาตรฐานสากล”

ใครที่ชื่นชอบทางด้านเทคโนโลยี ต้องถูกใจหลักสูตรนี้อย่างแน่นอน ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม และแอปพลิเคชันครบทั้งกระบวนการ การออกแบบและดูแลระบบสารสนเทศและเครือข่ายเรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างเข้มข้นเพื่อนำไปต่อยอดเป็นระบบ AI หรือ Data Science กระบวนการซอฟต์แวร์และการพัฒนาการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสายงานใหม่เหมาะกับกลุ่ม Gen Z อย่าง UI/UX ที่ประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์และหลักการตลาด เพื่อออกแบบระบบหรือผลิตสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ตรงใจผู้ติดตามทั้งหลาย ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงมากในทุกวงการ

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิชาเอก “คอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ” จัดการเรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทั้งทฤษฎีออโตมาตา สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ และ Network ในแนวกว้างอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างพื้นฐานอันเข้มแข็งให้ผู้เรียนสามารถไปต่อยอดด้านเฉพาะทางในด้านต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย กระบวนการซอฟต์แวร์และการพัฒนา การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก

นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีอิสระในการออกแบบวิชาเลือกเฉพาะทางเหล่านี้ได้ตามความเชี่ยวชาญหรือความสนใจเป็นวิชาโท ได้แก่ การสื่อสารข้อมูลและการบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมและการจัดการซอฟต์แวร์
และวิทยาการข้อมูล โดยเนื้อหาทั้งหมดนี้ล้วนเป็นทักษะที่ทุกองค์กรขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้ รวมไปถึงการสร้าง
งานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ซึ่งผู้เรียนซึ่งอยากเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นก็สามารถเลือกเรียนหลักสูตรนี้ได้เช่นเดียวกัน

การฝึกงานหรือสหกิจ

ในทุกวิชาเอกนักศึกษาสามารถฝึกงานหรือทำสหกิจ ในองค์กรชั้นนำต่างๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (สหกิจเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น แอปพลิเคชันบนมือถือ เว็บแอปพลิเคชัน เกม โปรแกรมระบบต่างๆ
  • นักทดสอบซอฟต์แวร์
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ
  • นักวิทยาการข้อมูล
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและธุรกิจ
  • นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ
  • นักออกแบบ UI/UX
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย หรือระบบศูนย์ข้อมูล
  • ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล

พื้นฐานสำคัญจริงๆ ทำให้เรามีต้นทุนการต่อยอดได้เร็วหรือช้าต่างจากคนอื่น

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 70 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เช่น สายสามัญ กศน. ปวช. หรือมีวุฒิจากต่างประเทศ (ดูจาก
    ประกาศแนวทางการเทียบวุฒิการศึกษาฯ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกัน
    ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาทางคณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
    และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษรวมกันไม่น้อยกว่า
    9 หน่วยกิต GPAX ไม่ต่ากว่า 2.75

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    129 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            93 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร: