.

ร่วมมือกับเรา 

                  ในการพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นที่รู้จักและก้าวไปสู่ความเป็นแนวหน้าในระดับสากล ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จะต้องแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันคณะฯได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) กับสถาบันต่างประเทศมากมายทั้งในและต่างประเทศ ทั่วทั้งเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา มีกิจกรรมด้านวิเทศสัมพันธ์มากมาย อาทิ โครงการเชิญผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรจากสถาบันและองค์กรต่างๆ มาบรรยายพิเศษ ร่วมสอน ร่วมวิจัย และเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม โครงการจัดการประชุมสัมมนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์/นักศึกษาเพื่อทำวิจัย ฝึกอบรม ดูงาน และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โครงการทำวิจัยและตีพิมพ์  ผลงานร่วมกันระหว่างคณาจารย์ภายในคณะฯ กับคณาจารย์ต่างสถาบันทั้งในและต่างประเทศ

บริษัทเคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร. วาทิต ตมะวิโมกษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย เรื่อง “สูตรและกรรมวิธีการผลิตไรซ์เบอร์รี่สเปรด” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทีมบริหาร คณาจารย์ ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และนักวิจัยเข้าร่วมพิธี ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ อาคารโดมบริหาร ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

Queen’s University Belfast, UK และ BIOTEC สวทช

ความร่วมมือกับ Queen’s University Belfast, UK และ BIOTEC สวทช. จัดสัมมนาวิชาการนานาชาติออนไลน์ (Webinar) ในหัวข้อเรื่อง Adapting to Cimate Change and the “New Normal” post COVID-19 pandemic: the ASEAN food supply chain for global food security เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมจากประเทศต่างๆรวมทั้งสิ้น 113 คน

คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร

ตัวแทนจากสาขาวิชาได้เข้าร่วมการสัมมนาของคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ผลงานวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรฐานราก ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการและพื้นที่ชุมชนผู้ผลิตปลาสลิดบางบ่อ      เพื่อหาแนวทางในการนำผลงานวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรฐานราก ณ จังหวัดสมุทรปราการ

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและสถาบันอาหาร

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและสถาบันอาหาร ในการผลักดันองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดสมุทรปราการ จึงได้จัดทำชุดโครงการวิจัยเรื่อง การสร้างนวัตกรรมชุมชนและการพัฒนาโครงข่ายการตลาด เพื่อสร้างรายได้แก่วิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก “สมุทรปราการโมเดล”

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

สาขาวิชาได้ร่วมมือกับกลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยทางด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการพัฒนานวัตกรรมอาหาร อาทิเช่น การจัดทำข้อเสนอวิจัยร่วม สกสว., การจัดทำบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการและเข้าร่วมกิจกรรมการประกวดผลงานนวัตกรรมทางอาหารด้วยเทคโนโลยีฉายรังสี

ความร่วมมือการทำวิจัยและนวัตกรรมกับสถาบันวิจัยต่างประเทศ

สาขาวิชาได้ผลิตผลงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ และสิ่งประดิษฐ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล โดยได้รับความร่วมมือในการทำวิจัยและนวัตกรรมกับสถาบันวิจัยต่างประเทศ รวมถึงการสนับสนุนด้านเครื่องมือ การตีพิมพ์ผลงานร่วมกัน หรือการแลกเปลี่ยนนักศึกษาปริญญาเอก อาทิ Queen’s University Belfast (สหราชอาณาจักร), Oregon state university SEAFOOD LAB และ Guru Partners (สหรัฐอเมริกา), AgroSup Dijon (ประเทศฝรั่งเศส) และ Anhui Agricultural University (สาธารณรัฐประชาชนจีน)