เปลี่ยนภาษา:  English

เรียนที่ FOOD&FIN TU

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

    ต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
    1. เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
    2. เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ และมีเกรดเฉลี่ย 2.50
    3. เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.50 จะต้องมีประสบการณ์ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารหรือด้านที่เกี่ยวข้อง

จำนวนหน่วยกิต:

    • วิชาบังคับ                            9  หน่วยกิต 
    • วิชาบังคับตามหมวดวิชา    9  หน่วยกิต
    • วิชาเลือก                             6  หน่วยกิต
    • วิทยานิพนธ์                       12  หน่วยกิต

 

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 19,600 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  02-564-4440-79 ต่อ 2550 หรือ 2558
 malee_c@hotmail.com

  Food Sci TU

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นักศึกษาจะได้เรียนการวางแผนการทดลองงานวิจัย การวิเคราะห์อาหาร และวิชาที่ก้าวทันวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เพื่อนำไปต่อยอดทำงานในตำแหน่งอาจารย์ในมหาวิทยาลัย นักวิจัยในหน่วยงานราชการและเอกชน นักวิเคราะห์และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร วางแผนและควบคุมการผลิต หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรฐานอาหาร เป็นต้น

คำอธิบายหลักสูตร

ประเทศไทยเป็นครัวของโลกที่สรรค์สร้างผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งเป็นที่ยอมรับตลอดมา การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต้องใช้เทคโนโลยีและบุคลากรที่มีความรู้ทางวิชาการเชิงลึกที่สามารถพัฒนาองค์ความรู้บนพื้นฐานคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทยให้ยั่งยืนในระดับสากล

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้จัดการเรียนการสอนเป็น 4 หมวดวิชาตามความต้องการของผู้เรียนได้แก่ หมวดการแปรรูปอาหาร จุลชีววิทยาอาหาร เคมีอาหาร และ พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ตามสายงานกลุ่มอาชีพในอุตสาหกรรมอาหารให้เป็นรูปธรรมชัดเจน และยังมีวิชาเลือกอีก 28 วิชา ให้นักศึกษาเลือกเรียน นอกจากนี้หลักสูตรได้วางช่องทางให้นักศึกษาสายวิทยาศาสตร์อื่นๆ สามารถเข้าเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารได้ เพื่อไปประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ

สาขาวิชาฯ มีอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือวิเคราะห์ที่ทันสมัย เช่น HPP, Water spray retort, Spray dryer, NIR Spectroscopy และคณาจารย์ 15 ท่าน ที่พร้อมส่งเสริมวิทยานิพนธ์ในหัวข้อนักศึกษาสนใจได้ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมีความพร้อมในห้องปฏิบัติการ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารต้นแบบ เครื่องมือแปรรูปอาหาร และ เครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพทางด้านต่างๆ รวมถึงศูนย์ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส นอกจากนี้ยังมีการทำวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งในภาครัฐและอุตสาหกรรม เช่น ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และยังมีการทำวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษา เช่น Anhui Agricultural University (AHAU) ประเทศจีน

หัวข้องานวิจัย
– การเสียสภาพธรรมชาติและการเกิด เจลของโปรตีนปลา
– สารต้านอนุมูลอิสระในอาหาร
– โปรตีนไฮโดรไลเสท
– การสกัดและทำบริสุทธิ์อินูลิน
– สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร
– สารยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์จากธรรมชาติ
– อาหารในรีทอรทเพาซ์
– อาหารสร้างเสริมสุขภาพ
– อาหารจากธัญชาติ
– อาหารจากเนื้อปลาบด
– ผลิตภัณฑ์อาหารอิมัลชัน
– ผลิตภัณฑ์อาหารแห้ง
– ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากการหมักดอง
– ผลิตภัณฑ์จากกระบวนการเอ็กซ์ทรูชัน
– บรรจุภัณฑ์อาหาร
– การทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารทางประสาทสัมผัส
โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทั้งภาครัฐและเอกชน
– อาจารย์ และนักวิจัย
– นักวิเคราะห์อาหาร
– นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
– นักการตลาดและฝ่ายขาย
– พนักงานฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต
– พนักงานฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์พนักงานในหน่วยงานกำหนดมาตรฐานอาหาร

ทฤษฏีลึก ปฏิบัติเด่น นวัตกรรมเน้น ผันเป็นผู้ประกอบการ ยกคุณภาพอาหารได้มาตรฐานสากล